นายเมห์เหม็ด ฟุรกอน โชคเมน ครูชาวตุรกีที่ทำงานให้กับโรงเรียนสองแห่งที่ก่อตั้งขึ้นโดยผู้สนับสนุนขบวนการกูเลนในพม่าถูกใช้กำลังบังคับให้กลับตุรกีแม้จะมีการร้องขอความช่วยเหลือทางสื่อสังคมออนไลน์
เขาถูกควบคุมตัวที่สนามบินอาตาเติร์กกรุงอิสตันบูลและถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจเพื่อสอบปากคำเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
นายโชคเมนได้เรียกร้อง “ขอความช่วยเหลือจากโลก” ผ่านบันทึกวิดีโอที่เขาได้โพสต์ทางสื่อสังคมออนไลน์ไม่กี่นาทีก่อนที่ตำรวจพม่าจะส่งมอบตัวเขาให้กับทางการตุรกีที่ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ตามคลิปวิดีโอที่เขาได้โพสต์ก่อนหน้านี้บนสื่อสังคมออนไลน์ นายโชคเมน, อาอีชะห์ภรรยาและซิเบลลูกสาวของเขาได้ถูกกักตัวไว้โดยเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองท้องถิ่นผู้ซึ่งได้แจ้งกับครอบครัวดังกล่าวว่ารัฐบาลตุรกีได้ยกเลิกหนังสือเดินทางของพวกเขาแล้ว
ตามรายงานของสำนักข่าวอนาโดลูที่ดำเนินการโดยรัฐของตุรกี นายโชคเมนถูกใช้กำลังบังคับส่งตัวไปที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยก่อนเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม
แม้จะมีข้อเรียกร้องของเขา แต่เขาก็ยังถูกส่งตัวกลับอิสตันบูลพร้อมกับตำรวจตุรกีในเที่ยวบินของสายการบินตุรกี
นายโชคเมนเป็นผู้บริหารของโรงเรียนนานาชาติฮอริซันและยังเป็นหุ้นส่วนของบริษัท Mediterranean International Education Services จำกัดซึ่งทั้งสององค์กรตั้งอยู่ในพม่า
องค์การเพื่อสิทธิมนุษยชน Watch ได้ประณามการบีบบังคับให้ส่งตัวกลับโดยพม่าและไทย
ในคำแถลงเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม นายฟิลโรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการองค์การเพื่อสิทธิมนุษยชน Watch ของเอเชียกล่าวว่า “ทั้งพม่าและไทยมีโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องด้วยการให้ผู้บริหารโรงเรียนคนนี้ได้รับโอกาสในการเข้าพบเข้า #UNHCR เพื่อให้ความกลัวอย่างรุนแรงของเขาต่อการถูกข่มเหงรังแกและการทรมานที่อาจเกิดขึ้นหากเขากลับไปที่ตุรกีจะสามารถถูกตรวจสอบได้ ซึ่งการทำเช่นนั้นจะเป็นการเคารพทั้งมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน แต่ทั้งสองรัฐบาลกลับใช้มุมมองที่เหยียดหยามอย่างชัดเจนว่า ตุรกีสามารถทำทุกอย่างที่ต้องการกับพลเมืองของเขา แม้แต่กับผู้ที่พำนักอาศัยอย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศอื่นๆ
“ผลก็คือ นายฟุรกอน โชคเมนจะไปเริ่มรอมฎอนของปีนี้ในคุก ถูกตัดขาดจากภรรยาและลูกสาวของเขาเผชิญกับชะตากรรมที่คลุมเครือแต่โหดร้ายมากอย่างแน่นอน”
“คำวิงวอนของเขาได้ส่งเป็นคลิปวิดีโอให้กับ HRW และองค์กรอื่นๆ ทั่วโลกจากการควบคุมตัวที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อไม่ให้ถูกส่งกลับไปยัง#ตุรกีซึ่งพูดเพื่อตัวพวกเขาเอง เสียงของเขาเป็นตัวแทนคำฟ้องร้อง#ประเทศไทยและ#พม่าต่อการใส่ร้ายที่เหยียดหยามสิทธิของประชาชนในการลี้ภัยและการป้องกันตัวเองจากการประหัตประหารทางการเมือง”
การขยายเขตอำนาจของตุรกีในต่างประเทศ
ตุรกีประสบเหตุการณ์พยายามก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 240 รายและบาดเจ็บมากกว่าพันคน ทันทีหลังจากความพยายามยึดอำนาจการปกครอง รัฐบาลพร้อมด้วยประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอรโดอานได้กล่าวหากลุ่มกูเลนสำหรับความพยายามดังกล่าว
ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีแอรโดอานได้เรียกร้องให้รัฐบาลต่างประเทศลงโทษกูเลนนิสต์ในประเทศของตน จนถึงตอนนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นซึ่งรวมถึงซาอุดิอาระเบีย, มาเลเซียและจอร์เจียที่ดูเหมือนจะปฏิบัติตามคำเรียกร้องดังกล่าว
ในขณะเดียวกันนักบาส NBA ผู้โด่งดัง เอเนส คานเทอร์ ได้ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศโรมาเนียตามคำร้องขอจากรัฐบาลตุรกี ตามทวีตที่โพสต์โดยนักบาสเกตบอลชาวตุรกีดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ภายหลังผู้สนับสนุนขบวนการฝีปากกล้า นายคานเทอร์ได้เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่ารัฐบาลตุรกียังได้พยายามจับกุมตัวเขาในประเทศอินโดนีเซียอีกด้วย